วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

การออกกำลังกายผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
ในปัจจุบันจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต จากการสำรวจทางสถาบันวิจัยประชากร
มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ.2543 พบว่ามีจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากถึง 5.1 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 62.1 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะเกิดความถดถอยของสมรรถภาพทางกายง่ายกว่าในวัยอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากพยาธิสภาพต่างๆ ของหลายระบบที่พบในผู้สูงอายุนั้น มักเป็นภาวะเรื้อรัง ซึ่งจะมีผลต่อ reserve capacity
ของผู้สูงอายุ2 ตัวอย่างเช่น เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจะเดินช้าลง ก้าวเท้าสั้นลง ทั้งนี้เพื่อประหยัดพลังงานที่ต้องใช้ในการยืนเดิน และเมื่อเจ็บป่วย ต้องนอนโรงพยาบาลด้วยโรคเพียงเล็กน้อย กลับพบว่าผู้สูงอายุไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น มีการศึกษาจากหลายรายงาน3-7 ยืนยันว่าในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพพื้นฐานค่อนข้างดีสามารถพัฒนา functional capacity ได้โดยการออกกำ ลังกาย ซึ่งผลที่ได้รับจากการออกกำ ลังกายนั้น จะตรงข้ามกับผลที่เกิดจากความเสื่อมถอยจากการมีอายุมากขึ้น8
ลักษณะการออกกำลังกาย
การออกกำ ลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบต่างๆในร่างกายนั้น เป็นการออกกำลังที่เกิดจากการทำ งานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ หลายกลุ่มในร่างกาย อวัยวะหลายระบบต้องทำ งานเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ เช่น ปอดต้องฟอกเลือดในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หัวใจต้องปั๊มเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่ออกกำ ลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 4 – 5 เท่าของภาวะปกติ9 กล้ามเนื้อหดตัวหลายมัดและต้องทำ งานประสานกันเป็นจังหวะที่ต่อ
เนื่องอย่างเหมาะสม ตัวอย่างได้แก่ การเดิน การวิ่งเหยาะๆ การถีบจักรยาน การเต้นแอโรบิคการว่ายนํ้าเป็นต้น
การทดสอบก่อนการออกกำ ลังกาย (EXERCISE TESTING)
การวัดความสามารถในการออกกำ ลังกายนั้น เราวัดที่ Physical working capacity (PWC) หรือ
อีกนัยหนึ่งคือ Aerobic power (VO2max) ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็
ตามการทำ งานของกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำ ให้ระบบหัวใจและปอด
ทำงานอย่างเต็มที่ ดังนั้นการทดสอบความสามารถในการออกำ ลังกายจึงมี 2 ระดับ กล่าวคือ
1. ทดสอบเต็มความสามารถ (maximal testing) ใช้สำ หรับผู้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายค่อนข้าง
แข็งแรง
2. ทดสอบตํ่ากว่าความสามารถสูงสุด (submaximal testing) สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อน100ในห้องปฏิบัติการจะต้องมีความพร้อมของยา, ออกซิเจน และเครื่องมือ defibrillationเนื่องจากแม้ในผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการมาก่อนก็อาจตรวจพบว่ามี PVC หรือการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็น
ลักษณะ Ischemic ST depression ได้ขณะออกกำ ลังกาย ทำ ให้ต้องหยุดการทดสอบก่อนเวลาอันควร10
อุปกรณ์ที่นิยมใช้ทดสอบ มี 2 ชนิดคือ
1. Treadmill มีข้อดีคือทักษะที่ใช้ในการทดสอบคือการเดินหรือการวิ่ง ซึ่งผู้สูงอายุทุกคนมัก
คุ้นเคยมาก่อนแล้ว แต่มีข้อเสียคือการบันทึกภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความดันโลหิตค่อนข้าง
ลำ บาก เนื่องจากมีการขยับของร่างกายส่วนบนในระหว่างการทดสอบ นอกจากนี้ยังพบว่า
โอกาสที่ผู้สูงอายุจะหกล้มมีสูง หรือมีความกังวลมากต่อการทดสอบด้วยอุปกรณ์ชนิดนี้
2. Cycle ergometer มีข้อดีคือ ราคาถูก ไม่มีโอกาสล้มระหว่างทดสอบ สามารถวัด
parameter ต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากส่วนบนไม่มีการขยับมากนัก และหน่วยที่ได้เป็นหน่วย
มาตรฐานของงานหรือกำ ลังที่ได้จากการออกกำ ลังจริง ส่วนข้อเสียคือ ในคนที่ไม่เคยชินกับการ
ขี่จักรยาน อาจเกิดกล้ามเนื้อล้าได้ง่าย ทำ ให้เพิ่มแรงเครียดต่อระบบหัวใจไม่ได้เต็มที่นัก
การวัดปริมาณการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ นิยมใช้ Double product หรือ Ratepressure
product ซึ่งมีค่าเท่ากับ HR x Systolic BP เป็นการบอกถึงการทำ งานของหัวใจ อย่างไรก็ตาม
แนะนำ ให้ใช้การทดสอบแบบ Submaximal exercise testing ในผู้สูงอายุมากกว่า8 เนื่องจากข้อดีหลาย
ประการดังต่อไปนี้
• ปลอดภัยสูง
• ค่อนข้างง่าย
• ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อย
• ผู้ถูกทดสอบไม่เหนื่อยมากจนเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น